พุ ท ธ ป ร ะ วั ติ : พุทธประวัติโดยสังเขป (๔)

     ทรงเปิดประชุมจาตุรงคสันนิบาต ในตอนบ่ายแห่งวันเพ็ญเดือนมาฆะวันนั้นขณะที่พระพุทธองค์เสด็จกลับ
 จากถ้ำสูกรขตา ข้างเขาคิชฌกูฏมาถึงพระเวฬุวันวิหารพระสงฆ์อรหันต์สาวกจำนวน ๑,๒๕๐ องค์ ก็ได้มาชุมนุม
 พร้อมกันเฉพาะพระพักตร์ต่างองค์ต่างมุ่งมาเฝ้าพระพุทธองค์ในเวลาเดียวกัน ซึ่งการประชุมสงฆ์ครั้งนี้ประกอบ
 ด้วยองค์ ๔ จึงเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต คือ
 
     (๑.) วันนั้นเป็นวันมาฆปุณณมี วันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน มาฆะ
     (๒.) พระอริยสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ องค์ มาประชุมกันโดยมิได้มีการนัดหมาย
     (๓.) พระอริยสงฆ์ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖
     (๔.) พระอริยสงฆ์ทั้งนั้น ล้วนเป็นเอหิภิกขุคือ ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธองค์เอง
 
     พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าการประชุมประกอบด้วยองค์ ๔ ดังกล่าวนี้ เป็นโอกาศดียิ่งที่จะได้ทรงแสดงหลักการ
 สำคัญทางพระพุทธศาสนา จึงทรงเปิดการประชุมและทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมนั้น
 
     ทรงโปรดพระพุทธบิดา พระนางพิมพาและราหุล ต่อจากวันเพ็ญเดือนมาฆะนั้นมา พระพุทธองค์ได้ทรงส่ง
 พระอริยสาวกจำนวน ๑,๒๕๐ องค์นั้นออกไปประกาศพระพุทธศาสนา กิตติศัพท์ได้เลื่องลือไปถึงกรุงกบิลพัสดุ์
 ว่า พระพุทธองค์เมื่อได้ตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จจารึกโปรดเวไนยชนให้เลื่อมใสออกบวชเป็นพระสงฆ์ และเป็นอุบาสก
 อุบาสิกา ได้สำเร็จมรรคผลเป็นจำนวนมาก ขณะนี้กำลังประทับอยู่ที่พระเวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ
 พระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดาทรงทราบกิตติศัพท์นั้นแล้ว จึงทรงส่งทูตมาทูลอาราธนาพระพุทธองค์ให้เสด็จ
 ไปกรุงกบิลพัสดุ์ แต่ส่งทูตมาอย่างนี้ถึง ๙ ครั้ง พระพุทธองค์ยังมิได้เสด็จ ต่อมาพอย่างเข้าปีที่ ๒ นับแต่ตรัสรู้
 พระเจ้าสุทโธทนะ จึงทรงส่งทูตมาอาราธนาอีก โดยทรงมอบให้กาฬุทายีอำมาตย์เป็นหัวหน้าคณะทูตที่มาคราว
 นี้ก็ได้บวชเป็นพระสงฆ์ และได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งคณะ ครั้นย่างเข้าฤดูร้อนพระกาฬุทายีจึงทูลอาราธนา
 พระพุทธองค์เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ตามคำอาราธนาของพระพุทธบิดา พระพุทธองค์พร้อมพระอริยสงฆ์จำนวน ๒
 หมื่นรูป จึงได้เสด็จไปโดยมีพระกาฬุทายีเป็นผู้นำทางเสด็จดำเนินเป็นเวลา ๖๐ วันก็ถึงกรุงกบิลพัสดุ์ประทับอยู่ที่
 นิโครธรามใกล้ป่ามหาวัน ซึ่งพระญาติจัดไว้ถวาย ได้ทรงแสดงเวสสันดรชาดกโปรดพระประยูรญาติให้เลื่อมใส
 วันรุ่งขึ้นได้เสด็จออกบิณฑบาตโปรดประชาชนในกรุงกบิลพัสด์ ในการเสด็จเยือนกรุงกบิลพัสดุ์ครั้งนี้นอกจากได้
 ทรงแสดงเวสสันดรชาดกโปรดพระประยูรญาติให้เลื่อมใสดังกล่าวแล้ว ยังทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา
 ให้สำเร็จเป็นพระสกทาคามี โปรดพระนางปชาบดีโคตมี และพระนางพิมพาให้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน และ
 โปรดให้พระราหุลกุมารบรรพชาเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา โดยทรงมอบให้พระสารีบุตรเป็น
 พระอุปัชฌาย์ อยู่จำเนียรกาลต่อมา พระราหุลได้อุปสมบทและได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
 
     เสด็จแคว้นโกศล เมื่อประทับอยู่ที่กรุงกบิลพัสดุ์เป็นเวลานานพอสมควรแล้ว พระพุทธองค์ได้เสด็จจากกรุงกบิล
 พัสดุ์กลับไปยังกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ที่สีสปาวัน (ป่าสีเสียดหรือป่ากะทุ่มเลือด)ครั้งนั้นเศรษฐีชาวเมืองสาวัตถี
 แคว้นโกศล ชื่อ อนาถปิณทิกะ(เดิมชื่อสุทัตตะ) ได้ไปทำธุรกิจที่กรุงราชคฤห์ และเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ได้ฟังพระ
 ธรรมเทศนาของพระพุทธองค์แล้วได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน ได้ทูลอาราธนาพระพุทะองค์เสด็จไปกรุงสาวัตถี
 แล้วตนเองได้กลับไปเมืองสาวัตถีก่อน เพื่อเตรียมการรับเสด็จพระพุทธองค์และได้สร้างพระเชตวันมหาวิหาร
 เตรียมถวาย
 
     ต่อมา พระพุทธองค์ได้เสด็จไปเมืองสาวัตถี ตามคำทูลอาราธนาของท่านเศรษฐีนั้น เมื่อเสด็จถึงแล้ว ท่านเศรษ
 ฐีก็ถวายการต้อนรับอย่างดีด้วยความเคารพเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง และได้ถวายพระเชตวันมหาวิหารแด่พระสงฆ์ มี
 พระพุทธองค์เป็นประมุขพระพุทธองค์ทรงรับพระวิหารไว้ในพระพุทธศาสนา ทรงอนุโมทนาแสดงธรรมกถา
 โปรดตามควรแก่อัธยาศัย ระหว่างที่ประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหารนี้ พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรด
 พระเจ้าปเสนทิโกศล ให้ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และทรงโปรดพระนางมัลลิกาอัครมเหสีให้ได้ดวงตา
 เห็นธรรม
 
     ครั้งนั้น เหตุการณ์ภายในเมืองสาวัตถีกำลังปั่นป่วน เพราะมีโจรใจเหี้ยมคนหนึ่งชื่อ "องคุลิมาล" ได้ออกอาละ
 วาดฆ่าคนเป็นจำนวนมาก โดยตัดนิ้วมือของคนที่ถูกฆ่าคนละนิ้วคล้องเป็นพวงมาลัย ๙๙๙ นิ้ว ยังเหลือเพียงนิ้ว
 เดียวก็จะครบ ๑,๐๐๐ นิ้วตามต้องการ เวลานั้นมารดาขององคุลิมาลคิดถึงลูกมาก ประสงค์จะไปเยี่ยมลูกพระ
 พุทธองค์ทรงเห็นว่าหากองคุลิมาลได้พบมารดา ก็จะฆ่ามารดาของตนเสีย จะเป็นบาปหนัก จึงเสด็จไปโปรดอง-
 คุลิมาลให้มีความเลื่อมใสให้บวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา
 
     พระประยูรญาติทรงผนวชตามเสด็จ ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่อนุปิยอัมอัมพวันแห่งแคว้นมัลละ
 เวลานั้น กษัตริย์ศากยราชผู้เป็นพระประยูรญาติ ๖ พระองค์ คือ พระภัททิยะ พระอนุรุทธะ พระอานนท์ พระภัค
 คุ พระกิมพิละและพระเทวทัต ทรงเลื่อมใสในพระพุทธจริยา ประสงค์จะผนวชตามเสด็จพระพุทธองค์จึงพร้อม
 กันชวนนายช่างกัลบกชื่อ อุบาลี พากันไปเฝ้าพระพุทธองค์ ณ ที่ประทับ ทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ก็ประ
 ทานอุปสมบทให้ตามประสงค์ โดยให้นายช่างกัลบกอุปสมบทก่อน กษัตริย์ศากยาราชทั้ง ๖ องค์ นั้นอุปสมบทใน
 ภายหลัง พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดตามควรแก่อัธยาศัย ต่อมาท่านเหล่านั้น นอกจากพระเทวทัต และ
 พระอานนท์ ได้ปฏิบัติวิปัสสนาจนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ส่วนพระอานนท์ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน พระเทว
 ทัตนั้นได้บรรลุสมาบัติ มีอิทธิฤทธิ์ตามวิสัยปุถุชน
 
     ทรงห้ามพระประยูรญาติวิวาทเรื่องน้ำ ครั้งหนึ่ง พระประยูรญาติทั้งสองฝ่ายคือ ฝ่ายกรุงกบิลพัสด์ และฝ่าย
 โกลิยนคร ได้วิวาทกันด้วยแย่งน้ำในแม่น้ำโรหิณีเพื่อระบายน้ำไปสู่พื้นที่ทำนาในเขตของตน เริ่มด้วยพวกคนงาน
 ทะเลาะกัน และลามไปถึงกษัตริย์ ทั้งสองฝ่ายได้เตรียมอาวุธยกกำลังเข้าประจันหน้ากัน จวนจะเกิดศึกอยู่รอมร่อ
 แล้ว ครั้งนั้น ขณะพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่แคว้นสักกะ ทรงเห็นเหตุการณ์เช่นนั้น จึงเสด็จไปโปรดพระประยูร
 ญาติทั้งสองฝ่ายให้ระงับการวิวาทบาดหมางกัน โดยทรงชี้ให้เห็นว่าชีวิตกษัตริย์ ชีวิตคนนั้นแพงกว่าน้ำมากนัก
 ไม่ควรเห็นน้ำดีกว่าคน พระญาติทั้งสองฝ่ายจึงเลิกวิวาทกันและมีความสามัคคีกัน
 
 

ตอนที่ [1] [2] [3] [4] [5]

note1.gif (506 bytes) กลับไปหน้าแรก | พุทธประวัติ | พุทธศาสนสุภาษิต