ทรงโปรดชาวเมืองพาราณสี
ต่อมา
เมื่อประทับจำพรรษาอยู่ที่ป่าอิสิปนะมฤคทายวัน
อันเป็นพรรษาแรกนั้น
เอง
พระพุทธองค์ก็ได้ทรงแสดงอนุปทาพิกถาโปรดกุลบุตรชื่อ
"ยสะ"
ซึ่งเป็นบุตรเศรษฐีชาวเมืองพาราณสีให้
ได้บรรลุ พระอรหันตตผล
สำเร็จเป็นพระอรหันต์
ได้อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
นับเป็นพระอรหันต์องค์
ที่ ๗ ในโลก
ทั้งได้ทรงแสดงโปรดเศรษฐีบิดาพระยสะให้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
ได้ประกาศตนเป็นอุบาสก
และ
นับเป็นอุบาสกคนแรกในพระพุทธศาสนาที่ถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ
ทั้งได้โปรดมารดาและภรรยาของ
ท่านยสะให้เลื่อมใส
ได้ประกาศตนเป็นอุบาสิกา
ซึ่งเป็นอุบาสิกาคู่แรกในพระพุทธศาสนาที่ถือพระรัตนตรัยเป็น
สรณะ ต่อแต่นั้นมา ๒-๓ วัน
พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมโปรดบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี
ผู้เป็นสหายของ
ท่านยสะทั้ง ๔ คน ชื่อ วิมละ
สุพาหุ ปณณชิ และควัมปติ
ให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
ได้อุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุป
สัมปทา
นับเป็นพระอรหันต์ในโลกจำนวน ๑๑
องค์ ต่อมาอีกไม่นานนัก
สหายของท่านยสะซึ่งเป็นชาวชนบทจำ-
นวน ๕๐ คน ก็ได้บวชตามยสะ
พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้อุปสมทบด้วย
เอหิภิกขุอุปสัมปทาทั่วทุกองค์
นับจำนวนพระอรหันต์ในโลกเพิ่มขึ้นเป็น
๖๑ องค์
ทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระพุทธศาสนา
เมื่อมีพระอรหันต์สาวกจำนวนมากถึง
๖๐ องค์ และเวลานั้นก็
ได้สิ้น ฤดูฝนแล้ว
พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าเป็นโอกาสดี
สมควรส่งพระสาวกไปประกาศพระพุทธศาสนาแล้วจึง
มีพระพุทธดำรัสสั่งพระอรหันต์สาวก
ให้ไปจาริกในที่ต่างๆ
เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน
โดยให้แยกย้ายกัน
ไป มิให้ไปรวมกัน
ให้ไปแสดงธรรมประกาศพระพุทธศาสนาให้แพร่หลาย
ส่วนพระองค์เองก็จะเสด็จไปยังตำ
บลอุรุเวลา กรุงราชคฤห์
เพื่อประกาศพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกัน
ทรงโปรดภัททวัคคีย์และชฎิล
เมื่อทรงส่งพระสาวกออกจาริกไปแล้ว
พระพุทธองค์จึงเสด็จไปยัง
ตำบลอุรุ
เวลาแต่เพียงพระองค์เดียว
ระหว่างทางได้เสด็จแวะเข้าไปพักผ่อนที่ไร่ฝ้ายแห่งหนึ่ง
ณ ที่นี้ พระองค์ได้ทรงพบ
ชายหนุ่มจำนวน ๓๐ คน
เป็นสหายกันเรียกว่า
ภัททวัคคีย์
ซึ่งได้พากันออกติดตามหาภรรยาของหนุ่มคนหนึ่งที่
ได้ขโมยของหนีไป
พระพุทธองค์จึงตรัสเตือนว่า
จะตามหาหญิงหรือตนเองดี
แล้วทรงแสดงธรรมโปรดให้บรร-
ลุมรรคผล
ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา (คือ
การบวชให้ด้วยพระองค์เอง
ด้วยการตรัสว่า
จงมาเป็นภิกษุเถิด)
แล้วทรงส่งไปประกาศพระพุทธศาสนาทั้ง
๓๐ องค์
หลังจากที่ทรงโปรดพวกภัททวัคคีย์แล้ว
ตอนบ่ายวันนั้นพระพุทธองค์ก็เสด็จจากไร่ฝ้าย
พอเวลาพลบค่ำก็
เสด็จถึงตำบลอุรุเวลาริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
ณ ตำบลนี้พระองค์ได้ทรงโปรดชฎิล
๓ พี่น้องที่ตั้งอาศรมบำเพ็ญ
พรตอยู่ที่ตำบลนี้ คือ
ชฎิลผู้พี่ใหญ่ ชื่อ
อุรุเวลกัสสป น้องคนกลางชื่อ
นทีกัสสป น้องคนเล็กชื่อ
คยากัสสป คุมบริ
วาร (รวมทั้งตัวเองด้วย) คนละ
๕๐๐ , ๓๐๐ และ ๒๐๐
โดยตั้งอาศรมอยู่ตอนเหนือแม่น้ำเนรัญชราที่คุ้งแม่น้ำ
ตอนกลาง
และที่คุ้งตอนใต้สุดโดยลำดับ
โดยทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตรโปรดชฎิลเหล่านั้นให้ได้บรรลุมรรค
ผล สำเร็จในพระอรหันต์ทั้ง
๑,๐๐๐ รูป
ประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาทั่วทุกรูป
ทรงโปรดพระเจ้าพิมพิสารและทรงได้พระอัครสาวก
เมื่อทรงโปรดชฎิล ๓ พี่น้อง
พร้อมทั้งบริวารและทรง
พักอยู่ที่ตำบลคยาสีสะพอสมควรแล้ว
พระพุทธองค์ได้ทรงพาพระอรหันต์ผู้เป็นชฎิลจำนวน
๑,๐๐๐ รูปนั้นเสด็จ
ไปยังกรุงราชคฤห์
นครหลวงแห่งแคว้นมคธ
เสด็จเข้าประทับอยู่ที่สวนลัฏฐิวัน
ใกล้พระราชวังพระเจ้าพิมพิสาร
พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบข่าวนี้
ก็ได้เสด็จไปเฝ้า
พร้อมด้วยข้าราชบริพารและประชาชนจำนวนมาก
พระพุทธ
องค์ทรงแสดงธรรมโปรดให้ได้บรรลุธรรมโปรดและมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
พระเจ้าพิมพิสารทรง
มีพระราชศรัทธาถวายพระเวฬุวัน
(สวนไผ่) เพื่อเป็นวิหาร (วัด)
แก่พระสงฆ์
มีพระพุทธองค์เป็นประมุข
ซึ่งนับ
เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระอรหันต์จำนวน
๑,๐๐๐ องค์นั้น
ได้ประทับอยู่ที่พระเวฬุวันวิหารต่อมาถึงวันขึ้น
๑ ค่ำ เดือนมาฆะ (เดือน ๓)
เวลานั้น ปริพาชกมีชื่อ ๒ คน
คืออุปติสสะ และ โกลิตะ
เป็นสหายกัน ได้พาบริวาร
(รวมทั้งตัวเองด้วย) จำนวน ๒๕๐
คน
เข้าไปเผ้าพระพุทธองค์ที่พระเวฬุวันวิหาร
พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม
โปรดประทานเอหิภิกขุสัมปทาถ้วนทุกคน
ปริพาชกที่เป็นบริวารได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั่วทุกคน
ส่วนอุปติส
สะและโกลิตะผู้เป็นหัวหน้ายังมิได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในวันนั้น
ครั้นต่อมาอีก ๗ วัน
พระพุทธองค์ทรงแสดง
ธรรมโปรดท่านโกลิตะ
ให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
ครั้นต่อมาถึงวันเพ็ญเดือนมาฆะ
(ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓) พระ
พุทธองค์ทรงแสดงธรรมแก่ทีฆนขะปริพาชกที่ถ้ำสูกรขตา
(ถ้ำที่สุกรขุด) ข้างเขาคิชฌกูฎ
ท่านอุปติสสะนั่งถวาย
งานพัดพระพุทธองค์อยู่
ได้ฟังพระธรรมเทศนานั้นแล้ว
ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
ต่อมาพระพุทธองค์ทรงยกย่องพระอุปติสสะ
เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา
ปรากฏพระนามว่า พระสารีบุตร
อัครสาวก
ยกย่องพระโกลิตะเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้ายปรากฏนามว่า
พระมหาโมคคัลลานะอัครสาวก
|