พุ ท ธ ป ร ะ วั ติ :
พุทธประวัติโดยสังเขป (๑) |
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความรู้
เพราะเกิดจากพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระบรม
ศาสดาองค์สำคัญยิ่งพระองค์หนึ่งของโลก
พระพุทธเจ้านั้น
เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ
และพระนาง
มหามายา
มีประวัติความเป็นมาปรากฎตาม
หลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างชัดแจ้ง
พระประวัติของพระพุทธ
องค์นั้นพึงทราบโดยสังเขปดังต่อไปนี้
ชาติภูมิ
ทางภาคเหนือสุดของชมพูทวีป
(อินเดียโบราณ)
มีรัฐที่อุดมสมบูรณ์รัฐหนึ่งชื่อ"สักกะ"หรือ"สักกชน
บท"ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำโรหิณี
ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่ในประเทศเนปาล
กรุงกบิลพัสดุ์เป็นเมืองหลวงของรัฐนี้
กษัตริย์ศากย
วงศ์ทรงปกครองรัฐนี้สืบต่อกันมาโดยลำดับ
จนถึงรัชสมัยของพระเจ้าสีหนุ
ซึ่งมีพระนางกัญจนาเป็นพระอัคร
มเหสี ต่อมา
พระเจ้าสีหนุได้ทรงจัดให้พระราชโอรสองค์ใหญ่พระนามว่า
สุทโธทนะ ได้อภิเษกสมรสกับพระ
นางมหามายา
พระราชธิดาของพระเจ้าอัญชนะ
และพระนางยโสธราอัครมเหสีแห่งกรุงเทวะทหะ
โดยทรง
ประกอบพระราชพิธีขึ้น ณ
อโศกอุทยาน กรุงกบิลพัสดุ์
เมื่อพระเจ้าสีหนุสวรรคตแล้ว
พระเจ้าสุทโธทนะก็ได้
เสวยราชสมบัติสืบพระวงศ์ต่อมา
ประสูติ
เมื่อก่อนพุทธศักราช ๘๑ ปี
พระนางมหามายา
อัครมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ
แห่งกรุงกบิลพัสดุ์
ทรงพระสุบินว่า
ลูกช้างเผือกเชือกหนึ่ง
เข้าสู่พระครรภ์ของพระนาง
หลังจากนั้นไม่นานนัก
พระนางก็ทรงพระ
ครรภ์
เมื่อพระครรภ์แก่จวนครบทศมาสแล้ว
พระนางมหามายาทรงมีพระประสงค์เสด็จกลับไปประทับที่กรุง
เทวะทหะ ชั่วคราว
เพื่อประสูติพระโอรสในราชตระกูลของพระนางตามประเพณี
ถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (ขึ้น
๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช
๘๐ ปี)
พระนางก็เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์พร้อมด้วยราชบริวารแต่เวลาเช้า
พอใกล้
เที่ยงวันก็เสด็จถึงลุมพินีวันราชอุทยานอันตั้งอยู่กึ่งทางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวะทหะ
จึงเสด็จ
แวะเข้าไปพักผ่อนที่ใต้ต้นสาละ
ทันทีนั้นพระนางก็ประชวรพระครรภ์และประสูติพระโอรส
(พระพุทธเจ้า)
ความทราบถึงพระเจ้าสุทโธทนะ
ก็โปรดให้รับพระนางพร้อมด้วยพระโอรสเสด็จกลับสู่กรุงกบิลพัสดุ์
หลังจากประสูติแล้ว ๕
วัน
ได้มีการประกอบพระราชพิธีมงคลเฉลิมพระนามพระราชโอรสว่า"สิทธัตถกุมาร"
ในพระราชพิธีนี้ได้เชิญพราหมณ์
๑๐๘ คน
เข้ามาฉันอาหารในพระราชวัง
และให้มีการทำนายพระลักษณะของ
เจ้าชายสิทธัตถะตามธรรมเนียมด้วย
คณะพราหมณ์เหล่านั้น
เมื่อตรวจดูพระลักษณะถี่ถ้วนแล้ว
ส่วนมากได้ร่วม
กันทำนายพระลักษณะว่ามีคติเป็น
๒ อย่าง คือ
ถ้าเจ้าชายสิทธัตถะนี้อยู่ครองราชสมบัติก็จักได้เป็นจักรพรรดิ
แต่
ถ้าเสด็จออกทรงผนวช
ก็จักได้เป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดาเอกของโลก
แต่มีพราหมณ์หนุ่มคนหนึ่งในคณะ
พราหมณ์เหล่านั้น
ชื่อ"โกณฑัญญะ"ได้ทำนายพระลักษณะยืนยันว่ามีคติเพียงอย่างเดียว
โดยทำนายว่า เจ้าชาย
สิทธัตถะนี้จะต้องเสด็จออกผนวช
และจะต้องได้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน
ครั้นถึงวันที่ ๗
นับแต่วันประสูติ
พระนางมหามายาพระราชชนนีก็เสด็จสวรรคตเจ้าชายสิทธัตถะจึงอยู่ใน
ความอภิบาลของพระนางปชาบดีโคตมี
ผู้เป็นพระมาตุจฉา(พระน้านาง)ของพระองค์
ซึ่งได้ทรงเป็นพระมเหสี
ของพระเจ้าสุทโธทนะสืบต่อมา
ทรงศึกษาและอภิเษกสมรส
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเจริญวัยแล้ว
ก็ทรงได้รับการศึกษาศิลปวิทยาการต่างๆ
ตามแบบกษัตริย์ในสมัยนั้น
โดยพระราชบิดาได้ทรงมอบให้ครูวิศวามิตร
ผู้มีชื่อเสียงที่สุดในเวลานั้น
เป็นผู้รับ
ภาระถวายการศึกษาอบรมเจ้าชายสิทธัตถะทรงมีพระปรีชาเฉลียวฉลาดยิ่ง
สามารถจบการศึกษาอบรมแต่เมื่อมี
พระชนม์เพียง ๑๕ พรรษา
นำความปรีดาปราโมทย์มาสู่พระราชบิดา
พระประยูรญาติ
พระอาจารย์เป็นอย่าง
ยิ่ง เมื่อพระชนม์ได้ ๑๖ พรรษา
ได้ทรงอภิเษกสมรสกับ
เจ้าหญิงพิมพา หรือยโสธรา
พระราชธิดาพระเจ้าสุป
พุทธะ
กษัตริย์โกลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะ
พระราชพิธีได้จัดขึ้น ณ
กรุงกบิลพัสดุ์
ท่ามกลางพระประยูรญาติทั้ง
๒ ฝ่าย
ภายหลังจากการอภิเษกสมรส
ได้ทรงดำรงพระยศเป็นรัชทายาท
แห่งกรุงกบิลพัสดุ์
พระราชบิดาทรง
สร้างปราสาทใหม่ให้ประทับ ๓
หลัง เพื่อทรงสำราญตลอด ๓
ฤดูกาลทรงเพียบพร้อมด้วยโลกิยสุขอยู่จนพระ
ชนมายุได้ ๒๙ พรรษา
และพระนางพิมพาพระวรชายาก็ทรงพระครรภ์ในปีนั้น
ทรงผนวช
ในปีที่ทรงพระชนมายุได้ ๒๙
พรรษานั้นเอง
เจ้าชายสิทธัตถะผู้เป็นรัชทายาทได้เสด็จประพาส
พระราชอุทยาน ๔ ครั้ง
ได้ทอดพระเนตรเห็น คนแก่
คนเจ็บไข้ คนตาย และสมณะ ตามลำดับ
ในการเสด็จประ
พาส ๓ ครั้ง
พระองค์ทรงสลดพระทัยในความทุกข์ยาก
และความไม่เที่ยงแท้
ความผันแปรของชีวิต ในครั้งที่
๔ อัน เป็นครั้งสุดท้ายนั้นเอง
พระองค์ทรงทราบว่าพระนางพิมพา
พระวรชายาของพระองค์ได้ประสูติพระ
โอรส
และทรงตัดสินพระทัยเสด็จออกทรงผนวชในคืนวันนั้น
โดยทรงม้ากัณฐกะ มีนายฉันนะ
เป็นผู้ตามเสด็จ
บ่ายพระพักตร์สู่แคว้นมคธตอนใต้
พอเวลาใกล้รุ่งก็เสด็จถึงแม่น้ำอโนมาเข้าสู่ฝั่งของแคว้นมัลละพรมแดนแห่ง
สักกะกับแคว้นมัลละ
เสด็จข้ามแม่น้ำอโนมาเข้าสู่ฝั่งของแคว้นมัลละประทับยับยั้งอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำนั้น
ทรงตัดพระ
เมาลีของพระองค์ด้วยพระขรรค์
แล้วทรงอธิฐานเพศบรรพชิตทรงผนวชเป็นสมณะ
ณ ฝั่งแม่น้ำนั้น แล้วตรัส
สั่งนายฉันนะ ให้นำม้ากัณฐกะ
และเครื่องทรงกลับกบิลพัสดุ์
นับแต่รุ่งอรุณวันนั้นเป็นต้นมา
พระสิทธัตถะก็เสด็จ
แรมอยู่ที่อนุปิยอัมพวัน
แคว้นมัลละ
แต่พระองค์เดียวชั่วเวลาราว ๗
วัน
|
ตอนที่ [1] [2] [3]
[4] [5]
กลับไปหน้าแรก | พุทธประวัติ
| พุทธศาสนสุภาษิต
|