- ๑.
ความอดทน
เป็นตบะของผู้พากเพียร
- ขนฺติ
ตโป ตปสฺสิโน.
|
- ๒.
ความอดทน นำมาซึ่งประโยชน์สุข
- ขนฺติ
หิตสุขาวหา.
|
--------------- |
--------------- |
- ๓.
ความอดทน
เป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์
- ขนฺติ
ธีรสฺสลงฺกาโร.
|
- ๔.
ขันติคือความอดทน
เป็นตบะอย่างยิ่ง
- ขนฺติ
ปรมํ ตโป ตีติกฺขา.
|
- ---------------
|
- ---------------
|
- ๕.
ความอดทน เป็นกำลังของนักพรต
- ขนฺติ
พลํ ว ยตีนํ.
|
- ๖.
ความอดทน
ห้ามไว้ซึ่งความผลุนผลัน
- ขนฺติ
สาหสวารณา.
|
- ---------------
|
- ---------------
|
- ๗.
สมณพราหมณ์
มีความอดทนเป็นกำลัง
- ขนฺติพลา
สมณพฺราหฺมณา.
|
- ๘.
ผู้มีความอดทน
ย่อมเป็นที่ชอบใจของบุคคลอื่น
- มนาโป
โหติ ขนฺติโก.
|
- ---------------
|
- ---------------
|
- ๙.
ความอดทน
ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น
- ผู้มีขันติชื่อว่าย่อมขุดรากแห่งความติเตียน
- และการทะเลาะกันได้
เป็นต้น.
- เกวลานํปิ
ปาปานํ ขนฺติ มูลํ
นิกนฺตติ
- ครหกลหาทีนํ
มูลํ ขนฺติ ขนฺติโก.
|
- ๑๐.
ผู้มีความอดทนนับว่ามีเมตตา
มีลาภ มียศ
- และมีสุขเสมอ
ผู้มีความอดทน
ย่อมเป็นที่รัก
- ที่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
- ขนฺติโก
เมตฺตวา ลาภี ยสสฺสี
สุขสีลวา
- ปิโย
เทวมนุสฺสานํ มนาโป โหติ
ขนฺติโก.
|
- ---------------
|
- ---------------
|
- ๑๑.
ผู้มีความอดทน
ชื่อว่านำประโยชน์มาให้
- ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น
ผู้มีความอดทน
- ชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และไปนิพพาน.
- อตฺตโนปิ
ปเรสญฺจ อตฺถาวโห ว
ขนฺติโก
- สคฺคโมกฺขคมํ
มคฺคํ อารุฬฺโห โหติ
ขนฺติโก.
|
- ๑๒.
ผู้มีความอดทน
ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสดา
- และผู้มีความอดทน
ชื่อว่าบูชาพระชินเจ้า
- ด้วยการบูชาอันยิ่งใหญ่.
- สตฺถุโน
วจโนวาทํ กโรติเยว ขนฺติโก
- ปรมาย จ
ปูชาย ชินํ ปูเชติ
ขนฺติโก.
|