- ๑.
ไม่ควรเปล่งวาจาที่ดี
ให้เกินควรแก่กาล
- วาจํ
ปมุญฺเจ กุสลํ นาติเวลํ.
|
- ๒.
วาจาเช่นเดียวกับใจ
- หทยสฺส
สทิสี วาจา.
|
--------------- |
--------------- |
- ๓.
ไม่ควรเปล่งวาจาที่ชั่วเลย
- น หิ
มุญฺเจยฺย ปาปิกํ.
|
- ๔.
คนพาลที่ยังไม่ถูกผูกมัด
แต่พอพูดในเรื่องใด
- ก็ถูกผูกมัดตัวในเรื่องนั้น
- อพทฺธา
ตตฺถ พชฺฌนฺติ ยตฺถ พาลา
ปภาสเร.
|
- ---------------
|
- ---------------
|
- ๕.
คนกล่าววาจาชั่วย่อมเดือนร้อน
- มุตฺวา
ตปฺปติ ปาปิกํ.
|
- ๖.
ควรกล่าวแต่วาจาที่น่าพอใจ
- มนุญฺญเมว
ภาเสยฺย.
|
- ---------------
|
- ---------------
|
- ๗.
คนโกรธมีวาจาหยาบ
- ทุฏฺฐสฺส
ผรุสา วาจา.
|
- ๘.
คำสัตย์แลเป็นวาจาที่ไม่ตาย
- สจฺจํ
เว อมตา วาจา.
|
- ๙.
คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก
- อภูตวาที
นิรยํ อุเปติ.
|
- ๑๐.
ควรเปล่งวาจางาม
- วาจํ
มุญฺเจยฺย กลฺยาณึ.
|
- ---------------
|
- ---------------
|
- ๑๑.
ควรเปล่งวาจาไพเราะที่มีประโยชน์
- สณฺฑํ
คิรํ อตฺถวตึ ปมุญฺเจ.
|
- ๑๒. พูดดี
เป็นมงคลอย่างสูงสุด
- สุภาสิตา
จ ยา วาจา
เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ.
|
- ---------------
|
- ---------------
|
- ๑๓.
พูดอย่างใด ควรทำอย่างนั้น
- ยถาวาที
ตถาการี.
|
- ๑๔.
ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือนร้อน
- ตเมว
วาจํ ภาเสยฺย ยายตฺตานํ น
ตาปเย.
|
- ---------------
|
- ---------------
|
- ๑๕.
ในกาลไหน ๆ
ก็ไม่ควรกล่าววาจาไม่น่าพอใจ
- นามนุญฺญํ
กุทาจนํ.
|
- ๑๖.
เปล่งวาจางามยังประโยชน์ให้สำเร็จ
- โมกฺโข
กลฺยาณิยา สาธุ.
|
--------------- |
--------------- |
- ๑๗.
ระมัดระวังวาจา เป็นความดี
- วาจาย
สํวโร สาธุ.
|
- ๑๘.
ความบริสุทธิ์พึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ
- สํโวหาเรน
โสเจยฺยํ เวทิตพฺพํ.
|
- ---------------
|
- ---------------
|
- ๑๙.
วาจาสุภาษิต
ย่อมมีผลแก่ผู้ปฏิบัติ
- เหมือนดังดอกไม้งาม
ที่มีทั้งสีสวย
และกลิ่นอันหอม
- ยถาปิ
รุจิรํ ปุปฺผํ วณฺณวนฺตํ
สคนฺธกํ
- เอวํ
สุภาสิตา วาจา สผลา โหติ
สุกุพฺพโต.
|
- ๒๐.
คนเกิดมาเชื่อว่ามีขวานเกิดติดปากมาด้วย
- สำหรับให้คนพาลใช้ฟันตนเอง
ในเวลาพูดคำชั่ว
- ปุริสสฺส
หิ ชาตสฺส กุธารี ชายเต
มุเข
- ยาย
ฉินฺทติ อตฺตานํ พาโล
ทุพฺภาสิตํ ภณํ.
|
- ---------------
|
- ---------------
|
- ๒๑.
ไม่ควรพูดเกินกาล
ไม่ควรนิ่งเสมอไป
- ควรกล่าววาจาที่ไม่ฟั่นเฝือ
ควรกล่าวให้พอดี ๆ
เมื่อถึงเวลา
- นาติเวลํ
ปภาเสยฺย น ตุณฺหี
สพฺพทา สิยา
- อวิกิณฺณํ
มิตํ วาจํ ปตฺเต กาเล
อุทรีเย.
|
- ๒๒.
คนใดเมื่อถูกอ้างเป็นพยาน
เบิกความเท็จ
- เพราะตนก็ดี
เพราะผู้อื่นก็ดี
เพราะทรัพย์ก็ดี
- พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นคนเลว
- โย
อตฺตเหตุ ปรเหตุ ธนเหตุ
จ โย นโร
- สกฺขิปุฏฺโฐ
มุสา พฺรูติ ตํ ชญฺญา
วสโล อิติ.
|
- ---------------
|
- ---------------
|
- ๒๓.
พึงเปล่งวาจางามเท่านั้น
ไม่พึงเปล่งวาจาชั่วเลย
- การเปล่งวาจางามยังประโยชน์ให้สำเร็จ
- คนเปล่งวาจาชั่วย่อมเดือนร้อน
- กลฺยาณิเมว
มุญฺเจยฺย น หิ
มุญฺเจยฺย ปาปิกํ
- โมกฺโข
กลฺยาณิยา สาธุ มุตฺวา
ตปฺปติ ปาปิกํ.
|
- ๒๔.
จะทำสิ่งใดพึงพูดสิ่งนั้น
สิ่งใดไม่ทำไม่พึงพูดถึง
- บัณฑิตย่อมจะหมายเอาได้ว่า
คนไม่ทำดีแต่พูด
- ยํ หิ
กริยา ตํ หิ วเท ยํ น
กยิรา น ตํ เวท
- อกโรนฺตํ
ภาสมานํ ปริชานนฺติ
ปณฺฑิตา.
|